วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2653
🔈🔉🔊🔉🔈🔉🔊🔉🔈🔉🔊
เวลาเรียน 08:30-12:30 น. กลุ่มเรียน 101
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
รหัสวิชา EAED2203 ภาคเรียนที่ 2/2653
ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ (อ.จ๋า)
จัดทำโดย
นางสาวสุพิชญา ถุงวิชา รหัสนักศึกษา 6111200330
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานส่ง โดยมอบหมายงานดังนี้
- ให้นักเรียนทุกคนไปลงชื่อในห้องเรียนในเวลา 08.45 น.
- อาจารย์ให้ทำมายแมพใน PPT ที่อาจารย์ส่งมาให้เสร็จ แล้วถ่ายรูปส่งในบล็อค
- ให้สรุปวิจัย บทความ ตัวอย่างการสอน แล้วส่งมาในบล๊อคภายในเวลา 12.30 น.
สรุปบทความเรื่อง คณิตศาสตร์กับพัฒนาการของเด็ก
- ทักษะสำคัญต่าง ๆ เช่น การนับ การจดจำ การจำแนกประเภท การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การเขียนตัวเลขการเปรียบเทียบ รูปทรง รูปร่าง พื้นที่ การชั่ง การตวง การวัด ความสัมพันธ์ เวลา วันที่ การเพิ่มและการลดจำนวน เป็นต้น
เด็กวัย 1-2 ปี
ช่วงวัยนี้ การเริ่มต้นให้เด็กได้หยิบจับสิ่งของรอบตัว มีการฝึกนับจำนวนเพื่อสร้างความคุ้นเคย โดยจำนวนที่นับอยู่ในช่วง 1-10 โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเปล่งเสียงให้เด็ก ๆ ฟังบ่อย ๆ ซึ่งจะสร้างความคุ้นหูและคุ้นเคยให้เด็กเป็นอย่างดี และค่อย ๆ เพิ่มจำนวนนับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เด็กวัย 3-4 ปี
ช่วงวัยนี้ เริ่มเข้าสู่การขีดเขียน โดยคุณพ่อคุณแม่จะเริ่มได้เห็นการเขียนตัวเลขตามลำดับจำนวน การนับ ลำดับ
เด็กวัย 5-6 ปี เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุดที่เด็กอาจอยู่ในช่วงที่เริ่มเข้าเรียนในระดับชั้นอนุบาล ซึ่งจะได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับการคำนวณตัวเลขพื้นฐาน อย่างการบวกและการลบอย่างง่าย
สรุป วิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โรงเรียนอนุบาลวิศิษฐ์อำนวยศิลป์ จังหวัดบึงกาฬ : กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลา
การวิจัยมีความมุ่งหมายดังนี้ เพื่อศึกษาผลการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำดับเวลา
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานคณิตศาสตร์ตามกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ
ในวงรอบที่ 1 ทำ ให้นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการในเรื่องการนับ การรู้ค่าตัวเลขและการจับคู่ อยู่ในระดับดีถึงดีมากผลเป็นที่น่าพอใจ จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ในวงรอบที่ 2 โดยพัฒนาเรื่องการเปรียบเทียบและการเรียงลำดับซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการอยู่ในระดับดีถึงดีมาก
โดยสรุป กระบวนการวิจัยปฏิบัติการวงจรลำดับเวลาสามารถพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ระดับปฐมวัยได้ ซึ่งเป็นแนวทางให้ครูสามารถนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลานี้ ไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1. Social สังคม
2. Theory ทฤษฎี
3. Develop พัฒนา
4. Research วิจัย
5. Benefit ประโยชน์
ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำงานเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด
ประเมินเพื่อน
ส่งงานตามที่อาจารย์กำหนดได้สำเร็จ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สั่งงานได้รอบคอบ